วันพุธที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2555

รายรับ รายจ่าย และหนี้สาธารณะ 21 ตค

หน่วยที่ 3 รายรับของภาครัฐบาล 
3.1 โครงสร้างรายรับของรัฐบาลและแนวคิด...
3.2 แนวคิดของรายได้ของรัฐบาล , ภาษีอากร.
3.3 หน่วยงานภาครัฐที่จัดเก็บภาษี
3.4 เปรียบเทียบจำนวนภาษีแต่ละหน่วยงานในช่วงปีที่ผ่านมา
3.5 แนวคิดการเกิดขึ้นของรัฐวิสาหกิจไทย
3.6 รัฐวิสาหกิจในไทย
3.7 เปรียบเทียบการผลการดำเนินงานจากการนำส่งรายได้
3.8 ยกตัวอย่างวิเคราะห์เปรียบเทียบรัฐวิสาหกิจ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ,การไฟฟ้าฝ่ายผลิต, การรถไฟแห่งประเทศไทย, การสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท)
ภาคเงินกู้และเงินคงคลัง   ดูเวป สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
3.9 ความหมายของหนี้สาธารณะ
3.10 วัตถุประสงค์การก่อหนี้
3.11 ประเภทของหนี้
3.12 สถานการณ์หนี้สาธารณะของไทยและการพัฒนาประเทศ
3.13 เงินคงคลัง
หน่วยที่ 4  รายจ่ายของภาครัฐ  และนโยบายการคลัง
4.1 ความสำคัญของรายจ่าย
4.2  ประเภทของรายจ่าย
4.3 การจำแนกรายจ่าย(ตามแบบงบประมาณพ.ศ. ....ฯ)
4.4 วิเคราะห์นโยบายคลังผ่านการจัดทำงบประมาณแผ่นดิน (บ่าย)

หลังจากที่พวกเราได้ร่วมพูดคุยกันในเรื่องของ พัฒนาการของการจัดทำงบประมาณแผ่นดิน แล้ว อาทิตย์นี้(21ตค) เราเรียนรายละเอียดเพิ่มเติมในเนื้อหาของงบประมาณเพิ่มขึ้น ครับ โดยแบ่งเป็นช่วงๆดังนี้
ช่วงที่ 1 ที่มาของรายรับ เนื้อหาในส่วนนี้ออกแบบมาให้นิสิตทราบถึงที่มาของรายรับของรัฐบาล นิสิตสังเกตุไหมว่าผม พยายามว่ารายรับ ผมไม่ได้พูดว่ารายได้เลย โดยที่มาของรายได้มา 3 แหล่งใหญ่ๆ คือ จากภาษี จากรัฐวิสาหกิจ และการซื้อขายบริการของรัฐ เนื้อหาจะลงไปถึงหน่วยงานภาษี วัตถุการจัดเก็บภาษีในแต่ละประเภท และพัฒนาการของการมีรัฐวิสาหกิจของไทยด้วย (ผมจะมอบหมายให้กลุ่ม 5 และ 6 )ทบทวนเรื่องนี้ (งบ56 ภาค 2)
ช่วงที่ 2 รายจ่ายของรัฐบาล คงต้องดูงบประมาณปี 2556 ภาค 3 ประกอบ เราจะพิจารณารายจ่ายในแต่ละประเภท และใช้เกณฑ์การวิเคราะห์ รายจ่ายเงินในงบประมาณ และรายจ่ายนอกงบประมาณ (มอบหมายให้กลุ่ม 3และ4)
ช่วงที่ 3 หนี้สาธารณะและเงินคงคลัง (มอบหมายให้กลุ่ม 1,2) (คงไม่ทันอาทิตย์21นี้)

วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555

มอบหมายงานเรื่องงบประมาณ นำเสนอวันที่ 14

ถึง นิสิต รปม ปี 1
เรื่องที่เราจะเรียนในสัปดาห์เป็นเรื่องของ งบประมาณแผ่นดิน โดยเนื้อหาภาพรวมจะแบ่งเป็น 3 ตอน ช่วงแรก
ช่วงที่ 1 เรื่องที่มาของการจัดทำงบประมาณแผ่นดิน เอาตั้งแต่แนวคิดของพวกฝรั่ง Budget กระเป๋าหนัง จนมาถึงช่วงรัชกาลที่ 5 เป็นจุดเริ่มต้นของการทำงบประมาณแผ่นดิน ทำไมรัชกาลที่ 5 ต้องทำงบประมาณแผ่นดิน แล้วไล่เลี่ยงไปถึงสมัยรัชกาลที่ 7 ช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครองที่คณะราษฏรต้องจัดทำงบประมาณแบบ มึนๆ พัฒนาการเปลี่ยนแปลงรูปแบบมาเรื่อยๆ

ช่วงที่ 2 วิธีการจัดทำงบประมาณแผ่นดินในปัจจุบัน มีการดำเนินงานอย่างไร ตามปฏิทินงบประมาณ ท่านลองตั้งข้อสังเกตุว่า เทศบาลของท่านจะสร้างสะพานคอนกรีตข้ามแม่น้ำ ตัวโครงการนี้จะเข้าไปอยู่ในงบประมาณแผ่นดินได้อย่างไร ช่วงที่ 2 นี่แหละจะว่าด้วยการทำงบประมาณ แล้วที่ว่ากระบวนการได้มาซึ่งงบประมาณแผ่นดินแต่ละปีนั้น เป็นระบบที่ดีที่สุด กล่าวคือ ตรวจสอบกลั่นกรองด้วยรัฐสภา จับจ่ายใช้ตรวจสอบด้วยระบบกรมบัญชีกลาง สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ปปช เป็นต้น และสุดท้ายผ่านการพิจารณาตัดสินด้วยระบบศาลตุลาการ ท่านว่าเพียงพอหรือเปล่า การกำกับดูแล

ช่วงที่ 3 เป็นเรื่องของงบประมาณแผ่นดินกับเศรษฐกิจมันมีส่วนเกี่ยวข้องกันอย่างไร เศรษฐกิจถดถอย เศรษฐกิจร้อนแรง วิกฤตน้ำท่วม จะว่าเป็นเรื่องของบประมาณแผ่นดินที่เกี่ยวข้องกับ คนในสังคมก็ได้ เรื่องนี้ควรนำเรื่องของตัวเลขงบประมาณจริงๆของปี 2556 มาคุยประกอบน่าจะดี

สั่งงาน

  1. ให้นิสิตทุกคนต้องอ่านเนื้อหาทั้งหมดของทั้ง 3 ช่วงนี้ 
  2. กลุ่ม 1-2 ตอบปัญหาช่วงที่ 1 กล่ม 3-4 ตอบปัญหาช่วง 2 กล่ม 5-6 ตอบช่วงที่ 3
  3. การตอบคือการมานั่งพูดคุยกับอาจารย์ตามเวลานัดหมาย ที่ละกลุ่ม ผมจะบันทึกเสียงด้วย

กลุ่ม 1 ฟ้ามุ้ยม่วง กลุ่ม 2 รักษ์พะเยา กลุ่ม3  หลังห้อง กลุ่ม4 หากันเจอ กลุ่ม5 ทวีศักดิ์ กลุ่มุ6 โซนหลังเขา

วันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2555

week 1 งบประมาณแผ่นดิน

clip ภาพข่าว











 

แบบฝึกหัด งบประมาณแผ่นดิน


  1. ให้ความหมายของงบประมาณแผ่นดินโดยสังเขป
  2. อธิบายความสำคัญของงบประมาณ 3 ประการ
  3. จงตอบคำถามต่อไปนี้ จากเอกสาร แถลงนโยบายงบประมาณปี 2556
จำนวนวงเงินงบประมาณปี 2556........................................... บาท
ประมาณรายได้สุทธิทั้งหมด..................................................บาท
รัฐบาลจัดงบประมาณแบบ.....................จำนวน.......................บาท
จำนวนเงินคงคลังเหลือมีจำนวน ....................................... บาท
รายจ่ายของรัฐบาล
จำนวนรายจ่ายประจำ ............................................. บาท
จำนวนรายจ่ายเพื่อชดใช้เงินคงคลัง ............................... บาท
จำนวนรายจ่ายลงทุน.......................................... บาท
รายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้................................... บาท

  • สาเหตุการเพิ่มขึ้นของบประมาณแผ่นดิน
  • จำนวนรายได้จ่ายตามยุทธศาสตร์ แต่ยุทธศาสตร์จำนวนและคิดเป็นร้อยละเท่าไร